ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน

ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน

TourismThailand, 26 ก.ค. 2023
ถูกใจ
ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน

“ชุมชนบ้านเหมืองกุง” หรือที่เรียกกันว่า “ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน” 

สาเหตุที่เรียกกันเช่นนั้น เพราะที่นี่เป็นแหล่งผลิตน้ำต้น หรือคนโทใส่น้ำ ให้เจ้านายฝ่ายเหนือตั้งแต่สมัยที่ถูกกวาดต้อนมาเพื่อสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ 200 กว่าปีก่อน จวบจนถึงในปัจจุบัน บ้านเหมืองกุงก็ยังคงเป็นแหล่งผลิตน้ำต้นที่สำคัญ และเป็นหมู่บ้านที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผากันในหลายครัวเรือน ยังคงมีเตาเผาเก่าแก่ ที่เรียกว่า “เตาปุง” อยู่ตามบ้านเรือน ผ่านการซ่อมแซม และใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบัน

ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน
ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน

“ชุมชนบ้านเหมืองกุง” เป็นกลุ่มคนที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองปุ เมืองสาดในรัฐฉาน มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ตั้งแต่สมัยเมื่อ 200 กว่าปีก่อน ซึ่งการมาตั้งถิ่นฐานนั้นต้องทำนา เพื่อนำข้าวเปลือกไปส่งให้เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และทักษะของคนกลุ่มนี้มีความถนัดในการทำเครื่องปั้นดินเผา เมื่อหมดฤดูทำนาจึงหาแหล่งดินที่สามารถนำมาปั้นน้ำหม้อ (หม้อน้ำดื่ม) และน้ำต้น (คนโท) ไว้สำหรับใส่น้ำดื่ม ซึ่งสมัยก่อนผลิตขึ้นเพื่อรับใช้เจ้านายฝ่ายเหนือเท่านั้น โดยน้ำต้นจะมีรูปแบบรายละเอียดแตกต่างกันลำดับชั้นตามแต่ยศศักดิ์ และทางเจ้านายฝ่ายเหนือมีการนำไปถวายพระตามวันสำคัญต่าง ๆ รวมถึงการทำรูปแบบลวดลายเรียบง่ายที่ชาวเหมืองกุงใช้ในครัวเรือน 

ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน
ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน
ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน

ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง มีหลายประเภทตามการใช้งาน ตัวอย่างเช่น

ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน

น้ำต้น (หรือคนโทในภาษากลาง) มีฟังก์ชันการใช้งานเหมือนขวดน้ำดื่มในปัจจุบัน ซึ่งการใช้งานในปัจจุบันนั้น ได้รับการนิยมให้เป็นหนึ่งในชุดเครื่องถวายสังฆทาน (เรียกว่าน้ำต้นสังฆ์) และมีการปรับเปลี่ยนการใช้งานไปตามยุคสมัย เช่น นำไปใช้ในงานประดับตกแต่ง หรือประยุกต์เป็นแจกันดอกไม้ เป็นต้น

ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน

น้ำหม้อ หรือหม้อน้ำ เป็นภาชนะใส่น้ำดื่มเช่นกัน ด้วยความที่ภาชนะดินเผานั้นช่วยเก็บความเย็นของเครื่องดื่ม มักวางคู่กับกระบวยตักน้ำ 

ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน

หม้อดอก หรือภาชนะใส่ดอกไม้ ในสมัยก่อนคนล้านนาจะเปลี่ยนหม้อดอกในวันสังขารล่อง (วันแรกของปีใหม่เมือง หรือวันสงกรานต์) ในหม้อจะใส่ทรายและน้ำ ก่อนนำใบหมากผู้หมากเมีย ดอกเอื้องผึ้ง มาปักในหม้อดอก และประดับด้วยช่อตุงสีต่าง ๆ เพื่อเป็นการบอกกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถึงการเข้าสู่ปีใหม่เมืองอีกครั้ง  

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาอื่น ๆ เช่น ตะเกียงน้ำมัน ถ้วยน้ำมัน ของที่ระลึกชิ้นเล็ก เช่น น้ำต้นจิ๋ว หม้อน้ำจิ๋ว กระถาง รวมถึงฝีมือของช่างปั้นบ้านเหมืองกุงนั้น สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานหลากหลายตามรูปแบบที่ลูกค้าต้องการได้ 

ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน

ช่องทางสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านเหมืองกุง 

กิจกรรมท่องเที่ยว “ตำนานงานช่าง : คนปั้นดิน บ้านเหมืองกุง”

นอกจากผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาต่าง ๆ บ้านเหมืองกุง ยังเต็มใจเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวที่สนใจงานปั้นดินในวันจันทร์ - วันเสาร์ โดยนัดวันทำกิจกรรมกับชุมชนล่วงหน้า

ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน
ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน

โปรแกรมครึ่งวัน 350 บาท/คน (ขั้นต่ำ 2 คน)

  • เดินเที่ยวชมในหมู่บ้าน แวะเวียนบ้านสล่า หรือศิลปินช่างปั้นของบ้านเหมืองกุง นำเที่ยวโดยไกด์ชุมชน
  • กิจกรรม “คนปั้นดิน” หรือ “เพ้นต์โอ่งน้ำหวาน” (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)

โปรแกรมช่างปั้น 1 day as a Clay Potter 1,500 บาท

  • สวมบทบาทเป็นช่างปั้นใน 1 วัน โดยมีสล่าบ้านเหมืองกุงมาสอนปั้นอย่างใกล้ชิด
ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน
ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน
เปิดบ้านท่องเที่ยว

เปิดบ้านท่องเที่ยว เฉพาะวันจันทร์ - วันเสาร์ 

เนื่องจากชุมชนทำงานปั้นดินเป็นงานประจำ และหยุดทำการในวันอาทิตย์

กรุณาจองโปรแกรมท่องเที่ยวชุมชนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน 

การเดินทางมายังชุมชนบ้านเหมืองกุง

ด้วยรถส่วนบุคคล โดยห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 30 นาที

ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่เพียง 15-20 นาที

แผนที่ท่องเที่ยวชุมชนบ้านเหมืองกุง
ชุมชนบ้านเหมืองกุง : ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน
0.00

  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%