Bangkok Design Week 2023

Bangkok Design Week 2023

TourismThailand, 02 ก.พ. 2023
ถูกใจ

ขอเชิญชวนนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้ผลิต ศิลปิน หน่วยงาน และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของ 'เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566' BKKDW2023 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 - 12 กุมภาพันธ์ 2566 ภายใต้ธีม Urban ‘NICE’ zation เมือง - มิตร - ดี 
สำหรับย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เข้าร่วมเทศกาลในปีนี้ ทั้ง 9 ย่าน ผู้สนใจเข้าร่วม สามารถเลือกท่องเที่ยวได้ตลอดทั้ง 9 วันของเทศกาลฯ ซึ่งแต่ละพื้นที่ย่านจะมีอัตลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะโดดเด่นแตกต่างกันไป ประกอบด้วย 

1.ย่านเจริญกรุง - ตลาดน้อยเป็น ‘ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต้นแบบของประเทศไทย’เพียบพร้อมด้วยศักยภาพทางวัฒนธรรม ใหม่-เก่าที่ผสมและผสานไว้ด้วยกัน คลาคล่ำไปด้วยแกลอรี่งานศิลปะและโชว์รูมดีไซน์สมัยใหม่ ควบคู่ไปกับการรักษาสถาปัตยกรรมดั้งเดิมและวิถีชุมชนเก่าแก่ไว้อย่างดีเยี่ยม อัดแน่นด้วยกิจกรรมหลากหลายกว่า 30  พื้นที่ อาทิ TCDCกรุงเทพฯ  ไปรษณีย์กลางบางรัก คลองผดุงกรุงเกษม อาคารชัยพัฒนสิน River city เป็นต้น     Re-Vendor เจริญกรุง 32  โดย CEA x Cloud-Floor x CommDe/ID CU x KU xStreet Vendors CRK32 งานออกแบบเชิงทดรองของร้านค้าแผงลอย ในซอยเจริญกรุง 32 เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้กับสตรีทฟู้ดริมทาง ให้เป็นมิตรกับเมืองมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่สิ่งแวดล้อม ธุรกิจ ชุมชน และผู้คนที่หลากหลายในเมือง สถานที่ย่านเจริญกรุง, ซอยเจริญกรุง 32       CITYHAPPENINGS โดย 27JUNE STUDIO สัมผัสประสบการณ์การชมผลงานแบบ Interactive Public Art Installation ผ่านผลงานสร้างสรรค์ที่แทรกตัวอยู่ตามพื้นที่สาธารณะตลอดคลองผดุงกรุงเกษมและถนนมหาพฤฒารามไม่ว่าจะเป็นลานโล่ง สวน กำแพง หรือแม้กระทั่งบนรถขนส่งสาธารณะผลงานเหล่านี้จะช่วยมอบสีสันให้เมืองและสร้างประสบการณ์ใหม่ให้คนเมืองมาใช้เวลาร่วมกัน สถานที่ ย่านเจริญกรุง - ตลาดน้อย และคลองผดุงกรุงเกษม ถนนมหาพฤฒาราม 

2. ย่านเยาวราช ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘CITY TROOPER X ACADEMIC PROGRAM’ กิจกรรมที่ชวนพลเมืองผู้มีความสนใจเรื่องการพัฒนาเมืองและกลุ่มสถาบันการศึกษา 13 สถาบัน จับมือกันร่วมค้นหาความต้องการของเมืองที่ตอบโจทย์กับผู้คนและพื้นที่ เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ Bangkok City of Design ขององค์การยูเนสโก       Newbus stop design โดย Academic Program: Bangkok City Trooper ต้นแบบป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่ จากกลุ่ม MAYDAY! ออกแบบจุดจอดรถเมล์ในเขตสัมพันธวงศ์ให้ใช้งานง่ายขึ้น เหมาะสมกับพื้นที่ และตอบโจทย์การใช้งานสำหรับคนทุกวัย โดยหลังจากสิ้นสุดเทศกาลฯ ป้ายนี้ก็จะยังคงอยู่ถาวรต่อไป      You do me I do you โดย D&O association นิทรรศการที่ท้าทายนักออกแบบให้ก้าวออกจากคอมฟอร์ตโซน ด้วยการแลกเปลี่ยนวัสดุระหว่างสตูดิโอ เช่น เหล็กไปสู่โรงงานหวายนักออกแบบจึงได้ทำงานกับวัสดุที่ตนเองไม่คุ้นเคย ในขณะที่นําหลักการและสไตล์การออกแบบเฉพาะตัวของพวกเขามาปรับใช้และสร้างสรรค์ผลงานใหม่ สถานที่ ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ 

3. ย่านสามย่าน – สยาม เป็นศูนย์รวมแหล่งการเรียนรู้ และศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ และยังเป็นเหมือนสนามทดลองของคนสร้างสรรค์จากหลากหลายวงการที่ชวนกันมาระดมไอเดียเพื่อค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในพื้นที่  เช่น Art4C  House of Passa Saratta เป็นต้น      CASETiFYx BKKDW2023 โดย CASETiFY แบรนด์ไลฟ์สไตล์และอุปกรณ์เสริมเทคโนโลยีระดับโลก สร้างคอลเลคชั่น“เคสโทรศัพท์” ที่สะท้อนบริบทกรุงเทพฯ โดยเชิญศิลปินไทย 10 ท่าน ที่มาบอกเล่าเรื่องราวของกรุงเทพฯ จากการตีความของตัวเอง และนำเสนอเป็นงานศิลปะบนเคสที่จะทั้งช่วยปกป้องโทรศัพท์และเป็นของที่ระลึกถึงกรุงเทพฯ ให้คุณได้พกพาไปกับตัวคุณได้ทุกที่ 

4.ย่านพระนคร / ปากคลองตลาด / นางเลิ้ง ย่านเมืองเก่าที่เกิดมาพร้อมกับกรุงเทพมหานคร มีความคลาสสิกเป็นวัตถุดิบชั้นเลิศ พร้อมวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่น เป็นแหล่งรวมทุกความคิดสร้างสรรค์เพื่ออนุรักษ์ ต่อยอด และสร้างเรื่องราวที่จะกลายเป็นบทใหม่ของกรุงเทพฯ จัดกระจายตามจุดต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ประปาแม้นศรี ลานคนเมืองไปรษณียาคาร บ้านนางเลิ้ง เป็นต้น       เล่น : สร้าง : เมือง โดย PlanToys กิจกรรมส่งเสริมให้เด็กในเมืองมีอิสระในการเล่น เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างที่ได้รับจากการเล่น และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนผู้ปกครอง ครู ผู้ใหญ่ในชุมชนเมือง ภายใต้บริบทของชุมชน สถานที่ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร, ลานคนเมือง จรจัดสรร โดย จรจัดสรร Stand for Strays ต้นแบบที่พักพิงเพื่อให้สุนัขจรจัดอยู่ในชุมชนอย่างเป็นสุข ด้วยงานออกแบสถาปัตยกรรมขนาดเล็ก ซึ่งสามารถใช้เป็นที่หลบแดด หลบฝน ที่กินอาหาร ให้กับสุนัขจรจัดในตรอกซอกซอยต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ ช่วยสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้กับชุมชนเมือง สถานที่ พยัคฆ์ แกลเลอรี 

     SATORIAL โดย SENSE OF NANG LOENG การออกแบบพัฒนาพื้นที่ที่กำลังจะสูญหายไปให้กลับมาคึกคักอีกครั้งในย่านนางเลิ้งผ่านออกแบบวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อสร้างพื้นที่และประสบการณ์ใหม่ผ่านท่วงท่าและเสียงดนตรี พร้อม Projection Mapping ท่ามกลางบรรยากาศชุมชนดั้งเดิมซึ่งเป็นแหล่งพำนักของศิลปินนักดนตรีไทยและนางรำ สถานที่ The Umber Housepresso & More 

5. ย่านอารีย์ – ประดิพัทธ์ โดยกลุ่ม AriAround ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายนักสร้างสรรค์จัด “เปิดบ้าน เปิดย่าน เปิดเมือง” ให้ชมสตูดิโด อาคารบ้านเรือน รวมถึงร้านค้า เพื่อผลักดันให้เป็นย่านฮิบแห่งใหม่ กลายเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมธุรกิจในพื้นที่ ที่พร้อมใจกันทําให้ย่านน่าอยู่มากยิ่งขึ้น เช่น โครงการ 33 space สวนซอยประดิพัทธ์ 17 สวนกรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น Six-Degreesof Ari โดย เพื่อนบ้านอารีย์การจัดแสดงศิลปะเสียงตามจุดต่างๆ ในย่านอารีย์ ผู้ชมจะสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของย่านผ่านการพูดคุยกันของตัวละครที่เป็นผู้อาศัยในย่านนั้น โดยการสแกน QR Code ตามจุดที่น่าสนใจต่างๆ ในย่านอารีย์ สวนสาธารณะสร้างสรรค์ โดย AriAround กิจกรรมสร้างพื้นที่สีเขียวในเมือง ในการขยายมุมมองความสัมพันธ์ของผู้คนกับพื้นที่สีเขียว สถานที่ สวนสาธารณะกรมประชาสัมพันธ์ 

6.ย่านพร้อมพงษ์ นำเสนอจุดโดดเด่นของย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง ซอยสุขุมวิท 26 โดยกลุ่ม 49 & FRIENDS การรวมตัวของกลุ่มนักสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนให้ย่านนี้เติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นมิตรต่อการอยู่อาศัย และกลายเป็นอีกหนึ่งจุดเช็กอินที่มีเรื่องราวน่าค้นหาที่สร้างประสบการณ์ใหม่ที่มอบความปลอดภัยให้กับผู้สัญจรในยามค่ำคืน และกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ        49 & FRIENDS: LUMINOUS 26 โดย A49 / A49HD ในซอยสุขุมวิท26 ที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ แต่ในยามค่ำคืนกลับบดบังระบบไฟส่องสว่าง นักออกแบบได้นำเสนอสร้างระบบไฟฟ้าแสงสว่างใหม่ที่สร้างความสว่าง เพิ่มความปลอดภัยของคนเดินถนนและรถยนต์ในตอนกลางคืน 

7.ย่านบางโพ สานต่อตำนานถนนสายไม้แห่งสุดท้ายในกรุงเทพฯ ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘ถนนสายไม้บางโพ ตํานานที่มีชีวิต’ จัดให้เป็นพื้นที่วัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต รวมทั้งส่งเสริมผู้ผลิตไม้ในย่านเก่าแก่ให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทําให้คนในพื้นที่ภาคภูมิใจในอัตลักษณ์และสินทรัพย์ เพื่อให้บางโพเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น พร้อมจัดมหกรรมลดราคาครั้งใหญ่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 15 ปี รวมทุกร้านค้า ไม่ว่าจะเป็นงานไม้ งานเฟอร์นิเจอร์ งานแกะสลัก สินค้าไม้แปรรูป รวมถึงของตกแต่งประเภทต่าง ๆ โดยมีส่วนลดสูงสุดกว่า 50%       TheLife of Wood โดย Bangpho Wood Street พาวิลเลี่ยนโคมจากไม้แปรรูป ภายใต้แนวคิด ‘FILL THE GAP - เติมเต็ม ต่อยอดยุคสมัย ต่อยอดอาชีพ' มอบประสบการณ์แก่ผู้เข้าชม ให้ถนนสายไม้เป็นถนนสร้างสรรค์ที่จะกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง สถานที่ ศาลเจ้าแม่ทับทิม      Balance in Space โดย Bangpho Wood Street การพัฒนาสวนสาธารณะขนาดเล็ก (Pocket Park) จากพื้นที่จอดรถมาทำเป็นพื้นที่สาธารณะ โดยการนำวัสดุเหลือใช้ภายในย่านมาใช้งาน และช่วยสนับสนุนงานฝีมือของคนในย่านไปพร้อมกัน สถานที่ บริษัท ทวีกิจ ผลิตภัณฑ์ไม้ จำกัด 

8. วงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู / คลองสาน กิจกรรมภายใต้แนวคิดการส่งเสริมอัตลักษณ์ของย่านวงเวียนใหญ่ - ตลาดพลู สู่การพัฒนาเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมความเชื่อ อาหาร และศิลปกรรม มานําเสนอในรูปแบบใหม่ โดย SC Asset ร่วมกับ กลุ่มยังธน สถานบันการศึกษา กลุ่มนักสร้างสรรค์กลุ่มผู้ประกอบการ และชุมชนคนในพื้นที่ และ ย่านคลองสาน ที่นำสินทรัพย์ในพื้นที่มาเสนอในรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยการสร้างกิมมิคให้คนมาท่องเที่ยวด้วยการนั่งเรือ จัดขึ้นโดย กลุ่ม SUP X Klong San และไอคอนสยาม ไฮไลต์ที่พบกับไอเดียสร้างสรรค์ สะท้อนบริบทของย่าน       ถลกหนัง "THE MAKER" ซอยกรุงธนบุรี : อยู่อย่างย่านเจริญรัถ โดย SC Asset ที่เน้นผสมผสานเรื่องราวของสินค้าและงานฝีมือในย่านเจริญรัถ นำมาสู่การถ่ายทอดและการจัดวางในพื้นที่ห้องตัวอย่างของ The Reference Condominium เพื่ออ้างอิงและแสดงถึงการอยู่ร่วมกับความทรงจำ สื่อถึงความหมายของบริบทพื้นที่และย่านแห่งนี้ 

9.ย่านเกษตร ด้วยแนวคิด ‘GREEN LIVING กรีนดีอยู่ดี’ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย สร้างต้นแบบของชุมชน และไลฟสไตล์ของผู้คนในการใช้ชีวิตประจําวัน และทีอยู่อาศัยที่พอเหมาะ สมดุลและยั่งยืน โดยนำกิจกรรมเกษตรแฟร์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งพร้อมทั้งการออกแบบ ตั้งจุดทิ้งขยะที่ตลาดอมรพันธ์ โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกลุ่มร้านค้าผู้ประกอบการ ชุมชนคนในพื้นเข้าร่วมเทศกาลครั้งนี้พบกับไฮไลต์ที่สร้างสรรค์ อาทิ       กิจกรรมเวิร์กช็อป ที่กำลังเป็นเทรนด์ของการดูแลสิ่งแวดล้อม และลดปัญหาขยะ ที่นำแนวคิด  ‘การจัดการขยะ และของเสียจากตลาดสดรถเข็นขายอาหาร’ ในตลาดอมรพันธุ์ ที่เกิดจากความร่วมมือและออกแบบร่วมกันระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ J Market เป็นผู้ดูแลพื้นที่ตลาดอมรพันธุ์ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงระบบการจัดการขยะภายในตลาดให้ดียิ่งขึ้น 

มาร่วมเป็น ‘มิตร’ ทำ ‘เมือง’ ให้เป็น ‘มิตรที่ดี’ สำหรับเราทุกคน Urban ’NICE’ zation - Let’s make ‘Urban’ nice for us all.

Bangkok Design Week 2023

ติดตามความเคลื่อนไหว / Follow us 
www.bangkokdesignweek.com 
FB/IG: bangkokdesignweek 
Twitter: @BKKDesignWeek 
Line: @bangkokdesignweek

separate line
0.00

  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%