ภาษาและการสื่อสาร

ภาษาและการสื่อสาร

TourismThailand, 08 ม.ค. 2020
ถูกใจ

ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาราชการ มีตัวอักษรไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และใช้สืบต่อกันมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี ส่วนภาษาพูดนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะถือกำเนิดมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ลักษณะของภาษาพูดในแต่ละภูมิภาคของประเทศจะมีสำเนียงและมีการใช้คำในภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งหลักๆ  เป็นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ แต่ก็ใช้ตัวอักษรและภาษาเขียนแบบเดียวกันทั่วประเทศ นอกจากนี้ ในชุมชนขนาดย่อยบางกลุ่มก็มีภาษาเฉพาะกลุ่มของตนเองอยู่บ้าง เช่น ชาวไทยเชื้อสายจีนที่ยังคงพูดภาษาจีน ชาวมุสลิมในเขตภาคใต้ตอนล่างพูดภาษามลายู และภาษาต่างๆ ของชาวไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาอังกฤษบ้างในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ข้องเกี่ยวกับต่างประเทศหรือชาวต่างชาติ เช่น บุคคลในราชการ บุคคลในวงการการศึกษา การท่องเที่ยว การพาณิชย์ และผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ในกลุ่มคนระดับท้องถิ่นทั่วไปมีอัตราการรู้ภาษาอังกฤษต่ำ สื่อสารภาษาอังกฤษได้น้อยถึงไม่ได้เลย

separate line
ภาษา

ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาราชการ มีตัวอักษรไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และใช้สืบต่อกันมาเป็นเวลานานนับศตวรรษ ส่วนภาษาพูดนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะถือกำเนิดมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ลักษณะของภาษาพูดในแต่ละภูมิภาคของประเทศจะมีสำเนียงและมีการใช้คำในภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งหลักๆ ได้เป็นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ แต่ก็ใช้ตัวอักษรและภาษาเขียนแบบเดียวกันทั่วประเทศ นอกจากนี้ ในชุมชนขนาดย่อยบางกลุ่มก็มีภาษาเฉพาะกลุ่มของตนเองอยู่บ้าง เช่น ชาวไทยเชื้อสายจีนที่ยังคงพูดภาษาจีน ชาวมุสลิมในเขตภาคใต้ตอนล่างพูดภาษามลายู และภาษาต่างๆ ของชาวไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ เป็นต้น และมีการใช้ภาษาอังกฤษบ้างในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ข้องเกี่ยวกับต่างประเทศหรือชาวต่างชาติ เช่น บุคคลในราชการ บุคคลในวงการการศึกษา การท่องเที่ยว การพาณิชย์ และผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ในกลุ่มคนระดับท้องถิ่นทั่วไปมีอัตราการรู้ภาษาอังกฤษต่ำ สื่อสารภาษาอังกฤษได้น้อยถึงไม่ได้เลย

separate line
การสื่อสาร

ปัจจุบันประเทศไทยมีโทรศัพท์พื้นฐานจำนวนกว่า 7 ล้านหมายเลข และโทรศัพท์มือถือ กว่า 50 ล้านหมายเลข ซึ่งเมื่อรวมโทรศัพท์ทั้ง 2 ระบบเข้าด้วยกันแล้ว สามารถกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีการเข้าถึงของโทรศัพท์ถึงเกือบ 100% ของจำนวนประชากร สำหรับช่องทางการสื่อสารในด้านอื่นๆ ประเทศไทยมีสถานีวิทยุคลื่น FM จำนวน 334 สถานี คลื่น AM จำนวน 204 สถานี สถานีโทรทัศน์จำนวน 6 ช่องสถานี มีสถานีเครือข่ายทั้งหมด 111 สถานี มีดาวเทียมสื่อสาร 4 ดวง และมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) หลายบริษัทในปัจจุบัน

5.00

(ดีมาก)

  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%