เส้นทางท่องเที่ยว 4 วัน 3 คืน : สระบุรี - ลพบุรี - นครสวรรค์

catagory icon image | ภาคกลาง
ถูกใจ

  • day 1
  • day 2
  • day 3
  • day 4
วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ)
อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ทุ่งทานตะวัน
อุทยานสวรรค์
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
พระปรางค์สามยอด
สะพานเดชาติวงศ์
ไร่ปภัสรา
ศาลพระกาฬ
เทวสถานปรางค์แขก
วัดถ้ำพรสวรรค์
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดคีรีวงศ์
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เส้นทางศึกษาธรรมชาติบึงบอระเพ็ด
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ)
อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
Trip Planner Category:
4 วัน 3 คืน
Plan
สระบุรี 1 day
ลพบุรี 2 days
นครสวรรค์ 1 day

Trip Overview

Itinerary
Day 1 : สระบุรี
อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
เป็นน้ำตกที่ไหลลดหลั่นมาตามแนวลำธาร มีประมาณ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงราว 4 เมตร แอ่งน้ำมีบริเวณที่เล่นน้ำกว้าง และร่มรื่น
ถ้ำดาวเขาแก้ว
ตั้งอยู่ที่ตำบลพญากลาง ห่างจากอำเภอมวกเหล็กประมาณ 38 กิโลเมตร หรือจากตัวอำเภอเมืองไปประมาณ 75 กิโลเมตร ไปทางเดียวกับน้ำตกเจ็ดสาวน้อยอยู่เลย
ไร่ปภัสรา
ไร่ปภัสรา
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตั้งอยู่บนถนนสายมวกเหล็ก-วังม่วง อำเภอวังม่วง ใกล้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ มีแปลงองุ่นพันธุ์ดีบนเนินเขา ฟาร์มม้า ฟาร์มนกกระจอกเทศ
Day 2 : ลพบุรี
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองบัว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อันหมายถึง เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสร้างภายใต้โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ศาลพระกาฬ
ศาลพระกาฬ
ตั้งอยู่ริมทางรถไฟด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงเรียกกันมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า "ศาลสูง" ที่ทับหลังซึ่งทำด้วยศิลาทรายสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน ณ ที่นี้ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณด้วย
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ตั้งอยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟลพบุรี ไม่มีหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นสมัยใด ภายในบริเวณวัดเมื่อเดินเข้าไปจะพบศาลาเปลื้องเครื่องเป็นสถานที่แรก ศาลาเปลื้องเครื่อง ใช้เป็นที่สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเปลื้องเครื่องทรง ก่อนที่จะเข้าพิธีทางศาสนาในพระวิหาร หรือพระอุโบสถ ปัจจุบันศาลาเปลื้องเครื่องคงเหลือเพียงเสาเอนเท่านั้น ถัดจากศาลาเปลื้องเครื่องเป็นวิหารหลวง สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นวิหารขนาดใหญ่ ประตูทำเป็นเหลี่ยมแบบไทย หน้าต่างเจาะช่องแบบโกธิคของฝรั่งเศส ภายในวิหารมีฐานชุกชี ซึ่งเป็นประดิษฐานของพระพุทธรูปประจำเมืองลพบุรีที่สร้างขึ้นโดยความร่วมมือของจังหวัดลพบุรีและพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรีใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรีบริเวณหัวถนนนารายณ์มหาราชก่อนเข้าสู่ย่านตัวเมือง อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นรูปปั้นในท่าประทับยืนผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ก้าวพระบาทซ้ายออกมาข้างหน้าเล็กน้อย
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้สร้างพระราชวังแห่งนี้ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2209 เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ณ เมืองลพบุรี และทรงโปรดเสด็จมาประทับที่นี่มากถึงปีละ 8-9 เดือน
Day 3 : ลพบุรี
ทุ่งทานตะวัน
ทุ่งทานตะวัน
พระปรางค์สามยอด
พระปรางค์สามยอด
ตั้งอยู่บนเนินดินทางด้านตะวันตกของทางรถไฟใกล้ศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลง และตกแต่งลวดลายปูนปั้นสวยงาม เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบบายน ปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันสีแดง
เทวสถานปรางค์แขก
เทวสถานปรางค์แขก
อยู่ใกล้กับนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของลพบุรี เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐมีสามองค์ แต่ไม่มีฉนวนเชื่อมต่อกันเหมือนปรางค์สามยอด
Day 4 : นครสวรรค์
อุทยานสวรรค์
อุทยานสวรรค์
สะพานเดชาติวงศ์
สะพานเดชาติวงศ์
เป็นสะพานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย กรมทางหลวงวางแผนสร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เป็นประตูสู่ภาคเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2485
วัดถ้ำพรสวรรค์
วัดถ้ำพรสวรรค์
ตั้งอยู่ที่ตำบลลำพยนต์ ถนนลาดยางห่างจากตัวจังหวัด 105 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1สายตากฟ้า-โคกสำโรง กิโลเมตรที่ 224 วัดอยู่ทางซ้ายมือ
วัดคีรีวงศ์
วัดคีรีวงศ์
เส้นทางศึกษาธรรมชาติบึงบอระเพ็ด
เส้นทางศึกษาธรรมชาติบึงบอระเพ็ด
วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ)
วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ)
(วัดถือน้ำ) ตั้งอยู่ที่ตำบลนครสวรรค์ ออกห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร ไปตามถนนพหลโยธิน (นครสวรรค์-กรุงเทพฯ ) เข้าไปทางค่ายจิรประวัติ เป็นวัดเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับข้าราชการกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยมีใบหอก ใบพาย มีดดาบสมัยโบราณ พระพุทธรูปทองคำปางปฐมเทศนาและพระพุทธรูปเนื้อเงินบรรจุอยู่ภายใน