365 วัน มหัศจรรย์เมืองน่าเที่ยว : 5 สิ่งต้องห้ามพลาด แม่ฮ่องสอน : 5 Must Do In Mae Hong Son
ประเพณีกินวอ หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวลาหู่ เป็นประเพณีของการรวมตัวกันอย่างพร้อมหน้าของครอบครัว ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ต่างเดินทางมาร่วมงาน โดยจะมีการจัดเตรียมข้าวของ เครื่องประดับและน้ำเพื่อใช้เป็นเครื่องสักการะสิ่งศักดิสิทธ์ และเตรียมไว้สำหรับรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน โดยชาวลาหู่เชื่อว่าการรดน้ำดำหัว เป็นการล้างบาปที่ได้กระทำลงไป และหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในบ้าน ทุกคนจะมารวมกันที่ หอแหย่ เพื่อเต้นรำกันอย่างสนุกสนาน
การบรรพชาสามเณรตามแบบฉบับของชาวไทยใหญ่ ซึ่งเชื่อกันว่าได้กุศลแรงกว่าการบวชพระ โดยเด็กที่เข้าพิธีบรรพชาจะเรียกว่า “ส่างลอง” เมื่อถึงกำหนดจัดงานจะมีการโกนผมส่างลอง แต่จะไม่โกนคิ้ว (เพราะพระภิกษุพม่าไม่โกนคิ้ว) แล้วแต่งกายอย่างสวยงามด้วยเครื่องประดับ จากนั้นพาไปขึ้นขี่บนหลังม้า ถ้าไม่มีม้าก็จะขี่คอคน ซึ่งเรียกว่า “พี่เลี้ยง” หรือ “ตะแปส่างลอง” แล้วแห่ไปตามถนนสายต่าง ๆ มีกลดทองหรือ “ทีคำ” แบบพม่า กางเพื่อกันแดด โดยมักจัดเป็นประจำทุกปีในช่วงปลายเดือนมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน หรือช่วงระหว่างปิดภาคการศึกษาของเด็ก ๆ นั่นเอง
ประเพณีออกหว่า เป็นประเพณีออกพรรษาตามความเชื่อของชาวไทยใหญ่ โดยชาวบ้านจะประดิษฐ์จองพารา แล้วนำไปประดับตามบ้านเรือนเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับมาสู่โลกมนุษย์
มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "ผ่องส่างอุ๊กปุ๊ก” หรือ “ล่องผ่องไต” มีลักษณะเป็นปราสาท สองคอสามชาย ตกแต่งฉลุลวดลายแบบไทใหญ่ ติดประทีปโคมไฟสวยงาม นำพระอุปคุตตั้ง ประดิษฐานไว้พร้อมด้วย ผ้าไตรจีวร เครื่องสังฆทาน และข้าวของเครื่องใช้ เพื่อบูชาแก่พระอุปคุต ทั้ง 4 พระองค์ (ที่เหลืออยู่จาก 8 องค์ ตามความเชื่อของชาวไทใหญ่) เนื่องในโอกาสวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งแต่ละชุมชนยังร่วมใจ นำเอาศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น มาสร้างความรื่นเริงและสนุกสนานในสไตล์ไทใหญ่ที่ยังคงวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย
เป็นประเพณีที่จัดขึ้นหลังจากผลผลิตทางการเกษตรออกดอก ออกผล จะนำประกอบพิธีกรรม และนำไปแลกกับครอบครัวอื่น ๆ สื่อถึงการขอบคุณซึ่งกันและกัน ขอบคุณดิน ขอบคุณน้ำ ขอบคุณบรรพบุรุษ โดยจะทำพิธีในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ของทุกปี
ถั่วลายเสือ ของฝากขึ้นชื่อของแม่ฮ่องสอนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นสินค้า GI (Geographical Indications คือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ประจำจังหวัด ด้วยจุดเด่นที่รสชาติหวานมัน เมล็ดใหญ่ เนื้อแน่น มีลายสีม่วงคล้ายลายของเสือโคร่งชัดเจนจนเป็นที่มาของชื่อถั่วลายเสือ เมื่อนำมาทำเป็นไอติมก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม อีกทั้งยังมีรสชาติใหม่ ๆ ให้ได้ลองชิม เช่น รสถั่วลายเสือผสมมัลเบอร์รี่ รสถั่วลายเสือผสมนมถั่วเหลือง เป็นต้น
หมู่บ้านสันติชลเป็นหมู่บ้านชาวจีนยูนนานที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศจีน ยังคงมีวิธีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีวัฒธรรมที่โดดเด่น ถ่ายทอดผ่านอาหารได้แก่ ขาหมูยูนนาน เป็นขาหมูน้ำแดง ตุ๋นจนเปื่อย เนื้อนุ่ม ทานกับ หมั่นโถว อุ่น ๆ หอมนุ่มกำลังดี เข้ากันมาก
"ถั่วพูอุ่น" นั้นเป็นเมนูอาหารเช้า - เย็น ยอดฮิต ที่ให้พลังงานจากโปรตีนสูง เป็นอาหารมังสวิรัติ คำว่า “ถั่วพู” เป็นภาษาไทใหญ่ คำว่า ถั่วพู หมายถึง เต้าหู้ ซึ่งรสชาดมัน ๆ จากถั่ว ทานง่ายไม่เลี่ยน มีทั้งแบบยำ และ แบบร้อน หรือแบบทอดกรอบ นอกจากนี้ยังมี "ถั่วพูซิ่ง" (เต้าหู้ทอด) คำว่า ถั่วพู เป็นภาษาไทใหญ่ หมายถึง เต้าหู้ ส่วนคำว่า “ซิ่ง” หมายถึง มัน อร่อย กลมกล่อม สามารถหาชิมได้ง่าย ทั้งในถนนคนเดิน อ.เมืองแม่ฮ่องสอน และ ถนนคนเดินปาย หรือเช้าๆในตลาดสดสายหยุด
"เปงม้ง" ขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า ผสมกับกะทิและน้ำตาลอ้อย เนื้อของเปงม้งนุ่ม และฟู หวานละมุน
"อาละหว่า" ส่วนประกอบหลักคล้ายขนมเปงม้งแต่เนื้อจะไม่ฟู หน้าขนมเป็นสีน้ำตาลคล้ายขนมหม้อแกง รสชาติหวานและมันจากกะทิ
"ส่วยทมิฬ" ทำจากแป้งข้าวเหนียวนึ่งกับน้ำตาลอ้อยและกะทิ ลักษณะคล้ายข้าวเหนียวตัด รสชาติคล้ายอาละหว่าแต่จะนุ่มนวลกว่า
สามารถหารับประทานได้ตามตลาดเช้าหรืองานประเพณีสำคัญ ๆ ที่มีการออกร้านขายของ
กาแฟที่ปลูกแบบธรรมชาติใต้ร่มไม้ใหญ่ ซึ่งปลูกอยู่ทั่วในหลายอำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สูงเหนือระดับน้ำทะเลกว่า 900-1,482 เมตร ชาวบ้านปลูกกาแฟแบบธรรมชาติและปลอดสารพิษ การเก็บเกี่ยวผลผลิต การคัดแยกเมล็ด การหมักบ่ม การตาก และการคั่วกาแฟ จะทำอย่างพิถีพิถันใส่ใจรายละเอียดในทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพดีที่สุด และมีชื่อเสียงในหลายพื้นที่ อาทิ บ้านห้วยห้อม บ้านดูลาเปอร์ บ้านแม่เหาะ
ทุ่งดอกบัวตองบนดอยแม่อูคอ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน มีพื้นที่มากกว่า 500 ไร่ นับเป็นทุ่งดอกบัวตองที่ใหญ่และสวยที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัด ถึงกับได้เป็นส่วนหนึงของคำขวัญประจำจังหวัดเลยทีเดียว
หมู่บ้านบนยอดเขาที่หลายคนต่างประทับใจในความอลังการของวิวหมู่บ้านบนไร่ชาและทิวหมอกที่ลอยล่องอยู่เหนือทะเลสาบ อาหารการกินก็อร่อยฟินตามแบบฉบับวัฒนธรรมของชาวจีนยูนนาน อย่างชาและขาหมูหมั่นโถว มีกิจกรรมให้ทำอีกมากมาย คุ้มค่ากับเดินทางที่ต้องฝ่าโค้งมาหลายพันโค้ง แต่รับรองว่าถ้าหากได้มาเที่ยวที่นี่แล้วต้องหลงเสน่ห์แน่นอน
“ปางอุ๋ง” หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ “โครงการพระราชดำริปางตอง 2” ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เนื่องด้วยสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง ที่รายล้อมไปด้วยสวนสนเขียวขจีและดอกไม้เมืองหนาวนานาชนิด รับรองว่าใครที่ได้ไปสัมผัส คุณจะได้รับโอโซนจากธรรมชาติกลับไปแบบเต็มปอดอย่างแน่นอน
กองแลนมาจากภาษาพื้นเมือง "กอง" หมายถึง ถนนหรือเส้นทางที่ใช้สัญจร ส่วน "แลน" หมายถึง ตะกวด หรือตัวเงินตัวทอง "กองแลน" จึงมีความหมายว่า เส้นทางสัญจรของตะกวด ซึ่งหมายถึงทางที่แคบและเล็กนั่นเอง กองแลนมีอาณาบริเวณกว่า 5 ไร่ เกิดจากการทรุดตัวของดินบนหุบเขา บางส่วนกลายเป็นเหวลึก บางส่วนยังเหลือเป็นแนวสันเขาที่เป็นทางแคบๆ พอให้เดินได้ทีละคนเท่านั้น
ถ้ำน้ำลอด ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของหน่วยบริการสถานศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด มีลำห้วยไหลลอดภูเขาไปทะลุออกอีกด้านหนึ่ง เกิดเป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ภายในพบเครื่องมือเครื่องใช้โบราณซึ่งคาดว่ามีอายุประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว การเข้าชมถ้ำน้ำลอด ต้องเดินเท้าเข้าไปจากด่านด้านหน้าประมาณ 350 เมตร ถึงปากถ้ำจะมีแพไม้ไผ่บริการเข้าไปชมความสวยงามของถ้ำด้านใน
ถั่วลายเสือ ของฝากขึ้นชื่อของแม่ฮ่องสอนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นสินค้า GI (Geographical Indications คือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ประจำจังหวัดไปเป็นที่เรียบร้อย ด้วยจุดเด่นที่รสชาติหวานมัน เมล็ดใหญ่ เนื้อแน่น มีลายสีม่วงคล้ายลายของเสือโคร่งชัดเจนจนเป็นที่มาของชื่อถั่วลายเสือ และมีสารอาหารและแร่ธาตุมากกว่าถั่วลิสง
จากชุมชนปกาเกอะญอ แห่งบ้านห้วยตองก๊อ ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมืองที่ยังคงทอผ้าและปักผ้าขาย โดยอาศัยภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ยึดถือกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษทุกขั้นตอนเป็นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ทำให้บางครั้งพบข้อจำกัดสำหรับผลิตเป็นสินค้า เช่น สีย้อมผ้าเป็นสีที่สกัดจากพืชพันธุ์ในป่า กลายมาเป็นสินค้าชุมชนที่ได้รับความนิยม
กาแฟที่ปลูกแบบธรรมชาติใต้ร่มไม้ใหญ่ ซึ่งปลูกอยู่ทั่วในหลายอำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สูงเหนือระดับน้ำทะเลกว่า 900-1,482 เมตร ชาวบ้านปลูกกาแฟแบบธรรมชาติและปลอดสารพิษ การเก็บเกี่ยวผลผลิต การคัดแยกเมล็ด การหมักบ่ม การตาก และการคั่วกาแฟ จะทำอย่างพิถีพิถันใส่ใจรายละเอียดในทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพดีที่สุด และมีชื่อเสียงในหลายพื้นที่ อาทิ บ้านห้วยห้อม บ้านดูลาเปอร์ บ้านแม่เหาะ
บ้านละอูบชุมชนเล็ก ๆ กลางหุบเขาที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าละว้าที่มีภูมิปัญญาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รวมไปถึงฝีมือในการผลิตเครื่องเงินที่โดดเด่น จนสามารถผลักดันให้เป็นสินค้าพรีเมี่ยมระดับจังหวัด และยังมีลวดลายอันเป็นเอกลักษ์ที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ อาทิ ลายเปลือกไม้ ลายดอกไม้ ลายหีบสมบัติ ลายดอกบัวตอง เป็นต้น ปัจจุบันมีสินค้าเครื่องเงินหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แหวน กำไลข้อมือ สร้อยคอ เข็มขัด หรือกระเป๋า ให้เลือกซื้ออย่างหลากหลาย
ขนมท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่นำข้าวโพดข้าวเหนียวหรือข้าวโพดพันธุ์สายน้ำผึ้ง มาทอด จนพอง โรยเกลือเพิ่มรสชาติเล็กน้อย จะกลายเป็นป๊อปคอร์นที่มีเนื้อแน่น กรอบ หอมมันกว่าป๊อบคอร์นทั่วไป
แบ่งการวิ่งออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย ประเภทครอสคันทรี ระยะทาง 46 กม. ประเภทฮาล์ฟมาราธอนระยะทาง 24 กม. ประเภทมินิมาราธอน ระยะทาง 11 กม. และประเภทฟันรัน ระยะทาง 6 กม. โดยเส้นทางการวิ่งจะผ่านทัศนียภาพที่สวยงามท่ามกลางอากาศที่บริสุทธิ์และเย็นสบาย นอกจากนี้ยังผ่านสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลายชาติพันธ์อีกด้วย
แบ่งการวิ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 'Ridge Line 62' 'Sightseeing 32' และ 'Land Split 18' ทั้ง 3 ระยะจะเป็นการวิ่งที่เริ่มในปาย จบ ในปาย จุดเริ่มต้นของทุกระยะ จะอยู่ที่สะพานประวัติศาสตร์ปาย เส้นทางที่จะได้ผ่านกันได้แก่ กองแลน (ปายแคนยอน) ทุ่งข้าวโพดของชุมชนสบแพม ซึ่งล้วนเป็นสถานที่ท่องดเที่ยวยอดนิยมของอำเภอปายทั้งสิ้น
เส้นทางท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) และบริหารจัดการโดยบริษัทนำเที่ยว Thailocalista ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นโดยชุมชนท้องถิ่น มีการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับธรรมชาติที่สวยงามของจังหวัดแม่ฮ่องสอน อีกทั้งยังเป็นเส้นทางที่ได้รับรางวัล จากการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards: TTA) ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 โดยเส้นทางจะพานักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับธรรมชาติที่สวยงามของจังหวัดแม่ฮ่องสอน อาทิ ดอยหงอนไก่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่ ชมการเกษตรไร่หมุนเวียน การทอผ้า การตีมีด อาหารถิ่นตามฤดูกาล
แม่น้ำปาย เป็นแม่น้ำที่ใหญ่และยาวที่สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ไหลสวนทางกับแม่น้ำทุกสายในประเทศ ที่ไหผ่านอำเภอปาย-อำเภอปางมะผ้า-อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ก่อนจะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำสาละวินไปยังประเทศเมียนมาร์ เส้นทางการล่องแก่งมีระยะทางรวมประมาณ 50 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน
เป็นกิจกรรมที่เป็นที่นิยมกันมากทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ เนื่องจากทิวทัศน์แม่น้ำมีความสวยงามและระดับน้ำลดหลั่นกันตลอดทาง