365 วัน มหัศจรรย์เมืองน่าเที่ยว : 5 สิ่งต้องห้ามพลาด พะเยา : 5 Must Do In Phayao
งานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ประจำจังหวัดพะเยา จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันที่ 5 มีนาคมเพื่อสักการะดวงวิญญาณของพ่อขุนงำเมืองให้สถิตคู่เมืองพะเยา และประทานสุขสวัสดิ์แก่ประชาชนชาวพะเยา
เป็นกิจกรรมงานประเพณีสรงน้ำและห่มผ้าพระธาตุจอมทอง ณ โบราณสถานพระธาตุจอมทอง วัดศรีโคมคำ
ประเพณีตานข้าวใหม่ หรือถวายทานข้าวใหม่ จัดขึ้นเพื่อสืบสานประเพณีตานข้าวทิพย์ พระเจ้าตนหลวง จะทำเดือน 4 เป็ง ตามปฏิทินชาวเหนือ โดยประชาชนก็นำข้าวเปลือกข้าวสารใหม่ เช่น ข้าวหลาม ข้าวจี่ ข้าวต้ม ขนมจ๊อก ข้าวหลาม อาหาร น้ำตาล น้ำอ้อย ไปใส่บาตร
การสักการะพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยอายุเก่าแก่กว่า 500 ปี ที่ประดิษฐานในกว๊านพะเยา ณ วัดติโลก และปฏิบัติเป็นประเพณีในวันพระใหญ่ ได้แก่ วันมาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา สืบต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ในวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณี "แปดเป็งไหว้สาปูจาพระเจ้าตนหลวง" เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดพะเยา เป็นประณีที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าตนหลวง ประเพณีแปดเพ็ง หมายถึง วันเพ็ญเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันวิสาขบูชา แต่สำเนียงล้านนาออกว่า “แปดเป็ง” อักษร พ เป็น ป
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการพัฒนาภายใต้โครงการพะเยาโมเดลสู่การพัฒนาศักยภาพสินค้าเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการผลิตสินค้าเกษตร และนำร่องเป็นต้นแบบในการผลิตสินค้าเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ
ซาลาเปาจากชุมชน “เวียงลอ” โดยทำซาลาเปาแบรนด์ “พญาลอ” ไส้หมูกับไส้ถั่วแดงทำจากแป้งหมักนุ่มเป็นสูตรเฉพาะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ใช้รถมอเตอร์ไซต์พ่วงข้างตะเวนขายทั่วจังหวัด มีเปิดอบรมสอนอาชีพทำซาลาเปากับคนทั่วไปด้วย ในราคาคนละ 600 บาท
สหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ โคเนื้อจังหวัดพะเยา เป็นการเปลี่ยนวิถีการเลี้ยงโคเนื้อ มีการใช้นวัตกรรมจากการศึกษาวิจัยที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนา ตั้งแต่สายพันธุ์โคเนื้อ อาหารโคเนื้อไขมันแทรก กระบวนการแปรรูปในห้องแช่เย็น สามารถผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพส่งให้กับตลาดเนื้อโคระดับพรีเมี่ยม
อาหารภูมิปัญญาท้องถิ่น ของฝากแห่งเมืองพะเยา อาทิ ปลาส้มของกลุ่มสตรีสหกรณ์ผู้ผลิตปลาส้มบ้านสันเวียงใหม่
กะละแมไทลื้อ มีจุดเริ่มต้นมาจากการทำขนมปาดซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของชาวไทลื้อ นิยมทำในประเพณีงานบุญ ลักษณะขนมปาดคล้ายกับขนมชั้นแต่จะมีความนิ่มมากกว่า เกษตรกรกลุ่มแม่บ้านดอนไชย หมู่ที่ 5 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เริ่มจับกลุ่มทำขนมปาดและจำหน่ายในงานประเพณีสืบสานตำนานไท และกลายเป็นของฝากยอดนิยม
ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ใจกลางเมืองพะเยา เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติของจังหวัดพะเยา
ตั้งอยู่ตำบลผาช้างน้อย เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกที่สวยงามของจังหวัดพะเยา โดยเฉพาะทุ่งดอกโคลงเคลงซึ่งบานราวเดือนกรกฎาคม-เดือนธันวาคม ชาวเขาเผ่าเย้าเรียกยอดดอยที่สูงที่สุดบนภูนี้ว่า “ฟินจาเบาะ” หมายถึง เป็นที่สถิตของนางฟ้า เทวดา บนยอดภูมีพื้นที่แคบ รองรับได้ไม่เกิน 10 คน
ตั้งอยู่บ้านดอนไชย ตำบลหย่วน ใกล้กับตลาดเทศบาลตำบลเชียงคำ เดิมเรียก "วัดม่าน" หรือ "จองเหนือ" เพราะอยู่ทางทิศเหนือของเทศบาลตำบลเชียงคำ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ วิหารไม้ พระอุโบสถ และพระพุทธรูปเก่าแก่อีกหลายองค์ ได้แก่ พระพุทธเมตตา เป็นพระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้สักทองปางมารวิชัย พระเจ้าแสนแซ่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย และเจดีย์ยี่สิบห้าศตวรรษ
หรือ (วัดพระเจ้าตนหลวง) ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอาณาจักรล้านนา คือ “พระเจ้าตนหลวง” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่สุดในภาคเหนือ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถกลางน้ำ ศิลปะล้านนาแบบประยุกต์ ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา
ตั้งอยู่บ้านศรีชุม ตำบลสว่างอารมณ์ เดิมมีชื่อว่า “วัดก้างหงส์ดอนไจย” เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอดอกคำใต้ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ ภายในประดิษฐาน “พระเจ้าทันใจ” พระพุทธรูปโบราณเนื้อทองสัมฤทธิ์ สกุลช่างหลวงเมืองพะเยา และวิหารพระเจ้าทันใจ ศิลปะล้านนาแบบผสมผสานหรือแบบประยุกต์
กะละแมไทลื้อ มีจุดเริ่มต้นมาจากการทำขนมปาดซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของชาวไทลื้อ นิยมทำในประเพณีงานบุญ ลักษณะขนมปาดคล้ายกับขนมชั้นแต่จะมีความนิ่มมากกว่า เกษตรกรกลุ่มแม่บ้านดอนไชย หมู่ที่ 5 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เริ่มจับกลุ่มทำขนมปาดและจำหน่ายในงานประเพณีสืบสานตำนานไท และกลายเป็นของฝากยอดนิยม
ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญาของคนอำเภอเชียงคำ ที่ปลูกและแปรรูปผลผลิตลำไยสร้างมูลค่าด้านเศรษฐกิจ มีเนื้อลำไยผสมอยู่ในหมี่กรอบ มีรสหอมของลำไย รสเปรี้ยวจากมะนาว ส่วนผสมทุกอย่างมาจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ข้าวหอมมะลิพะเยา หมายถึงข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวหอมมะลิพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 เมื่อหุงเป็นข้าวสุกจะมีสีขาวนวล อ่อนนุ่ม เหนียว
ภูมิปัญญาท้องถิ่น งานหัตถกรรมของ บ้านสันป่าม่วง จังหวัดพะเยา สร้างสรรค์งานผลิตภัณฑ์ มีความประณีต สวยงาม มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีเอกลักษณ์ของหัตกรรมจักสานผักตบชวา สามารถทำการผลิตได้หลายรูปแบบ เช่น กระเป๋า ตะกร้า กรอบรูป หมวก รองเท้า ของชำร่วย และโคมไฟ เป็นต้น
ปลาส้มพะเยา เป็นหนึ่งในการถนอมอาหาร โดยการนำปลาในกว๊าน มีทั้งปลาส้มเป็นตัว ส้มปลาฟัก (สับ) ไข่ปลา ขี้ปลาฟัก ฯ ที่จะแปรรูปได้
หรือเรียกกันว่า “ดอยหลวงพะเยา” ตั้งอยู่ในทิวเขาดอยหลวง เป็นเขาหินปูนหน้าผาสูงชัน มีลักษณะคล้ายหนอกวัว มีความสูง 1,077 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ระยะทาง 12 กิโลเมตร การเดินทางสู่ยอดดอยหนอกจะต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องจองล่วงหน้า และเข้ารับการอบรมก่อนการเดินทาง
กิจกรรมแข่งขันงานวิ่ง ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้มีโอกาสสัมผัสวิถีชีวิต อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ของพี่น้องชนเผ่า ผ่านเส้นทางทางธรรมชาติ ทั้งจุดชมวิวป่าสน จุดชมวิวบ้านปางปูเลาะ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ปางปูเลาะ- ผาแดง -ป่าเมี้ยง - และจุดชมวิวผาแดง และกิจกรรมปลูกป่าพญาเสือโคร่ง
กิจกรรมงานวิ่งที่จัดขึ้นโดยกลุ่มนักวิ่งเทรลชาวเชียงคำ ณ บ้านปางถ้ำ อ.เชียงคำ จ.พะเยา นอกจากนี้นักวิ่งจะได้สัมผัสความสวยงานของธรรมชาติที่ยังคงความสมบูรณ์ ต้นไม้นานาพรรณ เเม่น้ำยวน เเละยังเป็นเเหล่งรวมวัฒนธรรมชนเผ่าถึง 8 ชาติพันธุ์